ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | นวัตกรรมบนฐานการเรียนรู้เชิงลึก: การพัฒนาต้นแบบโมบายแอปพลิเคชันกับอุปกรณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รองศาสตราจารย์ ดร. จินตวีร์ คล้ายสังข์ |
เจ้าของผลงานร่วม | รองศาสตราจารย์ ดร. เนาวนิตย์ สงคราม |
คำสำคัญ | นวัตกรรม การเรียนรู้เชิงลึก โมบายแอปพลิเคชัน อุปกรณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะ ทักษะการคิด |
หน่วยงาน | ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบโมบายแอปพลิเคชันกับอุปกรณ์เทคโนโลยuอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับผู้เรียนประถมศึกษา โดยนวัตกรรมบนฐานการเรียนรู้เชิงลึก: การพัฒนาต้นแบบโมบายแอปพลิเคชันกับอุปกรณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับผู้เรียนประถมศึกษามีการพัฒนาจากผลมาจากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 43 คน และครู จำนวน 825 คน รวมทั้งสิ้น 868 คน จากนั้นนำผลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและ โดยใช้สูตร Modified Priority. Needs Index (PNI Modified) เพื่อวิเคราะห์สภาพและความต้องการจำเป็น และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Exploratory Factor Analysis: EFA) เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนานวัตกรรมฯ และสุดท้ายเป็นการศึกษาการยอมรับการใช้งานโมบายแอปพลิเคชัน โดยพัฒนาเป็นโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม AMOS 24.0 จากนั้นได้นำนวัตกรรมบนฐานการเรียนรู้เชิงลึกฯ ดังกล่าวไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนรัฐบาล และเอกชน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นที่ต่างจังหวัด มีจำนวนทั้งหมด 144 คน แบ่งเป็นผู้เรียนจากโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 73 คน โดยเป็นผู้เรียนจากโรงเรียนรัฐบาล 40 คน และโรงเรียนเอกชน จำนวน 33 คน ส่วนผู้เรียนจากโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด มีจำนวน 71 คน เป็นผู้เรียนจากโรงเรียนรัฐบาล 25 คน และโรงเรียนเอกชน จำนวน 46 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) วิเคราะห์ผลการประเมินทักษะการคิดตามความคิดเห็นผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยโมบายแอปพลิเคชันกับอุปกรณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะ ใช้การทดสอบค่า T-test for Dependent Samples และใช้การทดสอบ Two-way ANOVA เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ตั้งของโรงเรียน และประเภทของโรงเรียนที่มีต่อทักษะการคิดก่อนและหลังเรียนด้วยโมบายแอปพลิเคชันกับอุปกรณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะ โดยผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกิดทักษะการคิดเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพื้นที่ตั้งของโรงเรียน และประเภทของโรงเรียนร่วมกันส่งผลต่อทักษะการคิดทุกระดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้เรียนในโรงเรียนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สังกัดทั้งรัฐบาลและเอกชนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดทุกระดับก่อนเรียนมากกว่าผู้เรียนในโรงเรียนต่างจังหวัด 2) วิเคราะห์คะแนนการประเมินผลงานของผู้เรียน โดยใช้การทดสอบ Two-way ANOVA เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ตั้งของโรงเรียน และประเภทของโรงเรียนที่มีต่อคะแนนการประเมินผลงานของผู้เรียน ผลการวิจัยส่วนนี้พบว่า คะแนนเฉลี่ยการประเมินผลงานของผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดีมาก และพื้นที่ตั้งของโรงเรียน และประเภทของโรงเรียนร่วมกันส่งผลต่อทักษะการคิดระดับความเข้าใจ การสร้างสรรค์ และคะแนนการประเมินผลงานของผู้เรียนในภาพรวม โดยคะแนนการประเมินผลงานภาพรวม ผู้เรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งรัฐบาลและเอกชนมีคะแนนเฉลี่ยการประเมินผลงานในภาพรวมมากกว่าผู้เรียนในโรงเรียนต่างจังหวัด 3) วิเคราะห์ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนและการทำงาน โดยใช้การทดสอบ Two-way ANOVA เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ตั้งของโรงเรียน และประเภทของโรงเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนและการทำงานของผู้เรียน ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีทักษะการคิดภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยผู้เรียนมีทักษะการคิดระดับการประยุกต์ใช้สูงที่สุด และผู้เรียนโรงเรียนต่างจังหวัดที่สังกัดทั้งรัฐบาลและเอกชนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดระดับความเข้าใจ การวิเคราะห์ การประเมิน การสร้างสรรค์ และพฤติกรรมการเรียนและการทำงานของผู้เรียนในภาพรวมมากกว่าผู้เรียนในโรงเรียนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นอกจากนี้ยังสามารถสรุปผลได้ว่า นวัตกรรมบนฐานการเรียนรู้เชิงลึกฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการเรียนรู้เชิงลึก องค์ประกอบที่ 2 เทคโนโลยีเคลื่อนที่ องค์ประกอบที่ 3 เทคโนโลยีอัจฉริยะ และองค์ประกอบที่ 4 สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบยูบิควิตัส ในส่วนของขั้นตอนการเรียนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นการเตรียมความพร้อมและทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน (2) ขั้นการแสวงหาความรู้และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ (3) การบูรณาการความรู้และประสบการณ์เดิม และ (4) การใช้หลักการความรู้และความคิดในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์ผลงาน |
สาขาการวิจัย |
|
นวัตกรรมบนฐานการเรียนรู้เชิงลึก: การพัฒนาต้นแบบโมบายแอปพลิเคชันกับอุปกรณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.