ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
แบบจำลองช่องสัญญาณการสื่อสารสำหรับการจำลองเครือข่ายรับรู้ไร้สายในการจัดการดินถล่ม |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ณัฐกานต์ ชุติมารังสรรค์ |
เจ้าของผลงานร่วม |
รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์พิสิฐ วุฒิดิษฐโชติ |
คำสำคัญ |
แบบจำลองช่องสัญญาณ เครือข่ายรับรู้ไร้สาย การจัดการดินถล่ม การวัดค่าสูญเสียเส้นทาง |
หน่วยงาน |
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
ปีที่เผยแพร่ |
2562 |
คำอธิบาย |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการพัฒนาแบบจำลองช่องสัญญาณการสื่อสารสำหรับการจัดการ ดินถล่ม การทดสอบการส่งสัญญาณการสื่อสารได้ทำการวัดค่าสูญเสียเส้นทางเพื่อนำมาพัฒนาแบบจำลองช่องสัญญาณการสื่อสารที่เหมาะสมในบริเวณพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มในประเทศไทย ในการทดสอบการส่งสัญญาณการสื่อสารนั้นทำการส่งสัญญาณที่คลื่นความถี่ 2400 เมกะเฮิรตซ์ ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4 ของเครือข่ายรับรู้ไร้สายบนภูเขาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา การทดสอบวัดค่าสูญเสียเส้นทางสัญญาณจากการทดสอบได้รับผลกระทบจากพืชพันธุ์และภูมิประเทศของภูเขาโดยรอบในบริเวณนั้น การทดสอบการวัดค่าสูญเสียเส้นทางได้แบ่งออกเป็นสองกรณีศึกษาหลัก คือ 1) เสาอากาศรับและเสาอากาศส่งสัญญาณติดตั้งบนพื้นดิน 2) เสาอากาศรับและเสาอากาศส่งสัญญาณติดตั้งสูงจากพื้นดิน 1 เมตร ผลจากการวัดค่าสูญเสียเส้นทางได้นำมาใช้ เพื่อพัฒนาแบบจำลองช่องสัญญาณการสื่อสาร สำหรับกรณีศึกษาที่หนึ่งเสาอากาศติดตั้งบนพื้นดินนั้น การพัฒนาแบบจำลองช่องสัญญาณการสื่อสารได้มาจากแบบจำลอง Log normal และข้อมูลจากการวัดค่าการสูญเสียเส้นทางในกรณีของเสาอากาศที่ติดตั้งบนพื้นดิน และกรณีศึกษาที่สองเสาอากาศติดตั้งสูงจากพื้นดิน 1 เมตร การพัฒนาแบบจำลองช่องสัญญาณการสื่อสารได้พัฒนามาจากแบบจำลอง Ray Tracing |
สาขาการวิจัย |
|