ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ด้วยกิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื่อนที่แบบ สามมิติ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ปิยวรรณ ถนัดธนูศิลป
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.ดร.สุชาดา กรเพชรปาณี
คำสำคัญ กิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื่อนที่แบบสามมิต;ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์;คลื่นไฟฟ้าสมอง
หน่วยงาน วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา ม.บูรพา
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกสมองด้วยกิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื่อนที่แบบสามมิติ สำหรับ การเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับนักเรียน ชั ้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั ้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัด ชลบุรี จำนวน 46 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละเท่า ๆ กัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบ กิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื ่อนที ่แบบสามมิติ (3-Dimensional Multiple Object Tracking - 3D MOT Brain Training Task) แบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial recognition ability tests) และเครื ่องบันทึกคลื ่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram: EEG) ตัวแปรที ่ศึกษา คือ ค่าเฉลี ่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ และค่าเฉลี ่ยพลังงานสัมพัทธ์ วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ค่าเฉลี ่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของกลุ่มทดลอง หลังการฝึกด้วยกิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื ่อนที ่แบบสามมิติ สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.98 2) ค่าเฉลี่ยพลังงานสัมพัทธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองของกลุ่มทดลอง มีช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมอง Alpha 1, Alpha 2, Beta 1 และ Beta 2 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแตกต่างกันทุกตำแหน่งขั้วไฟฟ้า ได้แก่ สมองส่วนหน้า F3, FZ, F4 สมองส่วนกลาง C3, CZ, C4 สมองส่วน พาไรเอทัล P3, PZ, P4 และสมองส่วนท้ายทอย O1, O2 3) ค่าเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของกลุ่มทดลองเพศชายสูงกว่าเพศหญิงหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.42 4) ค่าเฉลี่ยพลังงานสัมพัทธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองของกลุ่มทดลองระหว่างเพศชายกับเพศหญิง ช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้า สมอง Alpha 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที ่ระดับ .05 เฉพาะตำแหน่งขั ้วไฟฟ้าของสมองส่วนท้ายทอย O1, O2 ส่วนช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมอง Alpha 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแตกต่างกันทุกตำแหน่ง ขั้วไฟฟ้า ได้แก่ สมองส่วนหน้า F3, FZ, F4 สมองส่วนกลาง C3, CZ, C4 สมองส่วนพาไรเอทัล P3, PZ, P4 และสมอง ส่วนท้ายทอย O1, O2 วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา ปีที่ 15 ฉบับที่ 1, มกราคม - มิถุนายน 2560 Research Methodology & Cognitive Science, Vol.15, No.1, January - June 2017 สรุปได้ว่า รูปแบบการฝึกสมองด้วยกิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื่อนที่แบบสามมิติที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มความ สามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์
Creative Commons License


การเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ด้วยกิจกรรมการติดตามวัตถุเคลื่อนที่แบบ สามมิติ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง