ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การผลิตเห็ดฟางและเห็ดนางฟ้าแบบครบวงจรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพระราชดำริของกลุ่มผลิตเห็ดอินทรีย์บ้านวังไฮ ตำบลคำเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม |
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ |
Integrated straw mushroom and oyster mushroom production process in, Tambon Kham Toei, Amphoe Mueang, Nakhon Phanom Province |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
นางสาวชนิดา ยุบลไสย์ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ |
Miss Chanida Yubolsai |
เจ้าของผลงานร่วม |
นางสาวพรพิมล ควรรณสุ ,
นางสาวพัชญทัฬห์ กิณเรศ |
คำสำคัญ |
โรงเรือนเพาะเห็ดระบบอีแว๊ป;การผลิตเห็ดฟาง;การผลิตเห็ดนางฟ้า;จังหวัดนครพนม |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยนครพนม |
ปีที่เผยแพร่ |
2566 |
คำอธิบาย |
กิจกรรมการผลิตเห็ดฟางและเห็ดนางฟ้าแบบครบวงจรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพระราชดำริของกลุ่มผลิตเห็ดอินทรีย์บ้านวังไฮ ตำบลคำเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีวัตุประสงค์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของกลุ่ม ได้แก่ ปัญหาเห็ดออกดอกน้อย และไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากสภาวะที่ไม่เหมาะสม ปัญหาเห็ดที่เหลือจากการคัดแยก เมื่อนำไปจำหน่ายราคาจะต่ำจึงมีความต้องการแปรรูปเห็ดเพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้แม้กลุ่มจะนำก้อนเห็ดเก่ามาผลิตปุ๋ย แต่ยังมีความต้องการเพิ่มแนวทางในการนำก้อนเห็ดเก่ามาใช้ประโยชน์อีกด้วย
ดังนั้นจึงมีการดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับสมาชิกกลุ่มและภาคีเครือข่ายในหัวข้อต่างๆ โดยมีผลจากการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ (1) โรงเรือนเพาะเห็ดระบบ Evap (Evaporation) พร้อมการควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนแบบอัตโนมัติ ผลการประเมินผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย 4.35) โดยในการใช้ประโยชน์จากโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดฟางจำนวน 2 รอบการผลิต ได้ผลผลิตเห็ดฟางรวม 600 กิโลกรัม คิดเป็นเงินมูลค่า 54,000 บาท (2) การแปรรูปเห็ดที่ตอบสนองความต้องการของตลาดและที่กลุ่มสนใจ การแปรรูปเห็ดเพื่อเพิ่มมูลค่าและควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ แหนมเห็ดนางฟ้า และข้าวเกรียบเห็ดนางฟ้า ผลการประเมินผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.69) (3) การใช้ประโยชน์จากก้อนเห็ดเก่าเพื่อเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเป็นแหล่งโปรตีนอาหารสัตว์และเลี้ยงไส้เดือน การตรวจวัดคุณภาพและมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ผลการประเมินผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย 4.24) นอกจากนี้ได้มีการทดสอบปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่าโดยห้องปฏิบัติการ พบว่าเมื่อเทียบกับปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานกรมวิชาการเกษตร มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า (EC) ไนโตรเจน (Total N) ฟอสฟอรัส (Total P2O5) และปริมาณอินทรีย์วัตถุ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และ (4) กิจกรรมอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้บรรจุภัณฑ์ยืดอายุผักผลไม้สด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตแปรรูปแหนมเห็ด การประเมินผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด การประเมินผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.53) (5) การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องหลักการทำตลาดออนไลน์ และตลาดคู่ค้า การประเมินผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในระดับ มาก (4.10)
|
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านสังคม/ชุมชน |
สาขาการวิจัย |
|