ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
ชุมชนต้นแบบนวัตกรรมผลิตผักอินทรีย์ระบบโรงเรือนต้นทุนต่ำ ของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ บ้านทุ่งยาวพัฒนา อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ |
A community model for producing organic vegetables in a cost-effective greenhouse system of the Ban Thung Yao Phatthana Organic Agriculture Community Enterprise, Khao Chaison District, Phatthalung Province for food self-sufficiency according to the phil |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
นางสาววันเพ็ญ บัวคง |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ |
Miss Wanphen Buakong |
เจ้าของผลงานร่วม |
นางสาววานิด รอดเนียม ,
นางสาวจิตรา จันโสด ,
ผศ.ดร.พรไทย ศิริสาธิตกิจ ,
นางสาวพิมพ์ชนก แก้วอุดม ,
ดร.บันฑิต ทองสงฆ์ |
คำสำคัญ |
ชุมชนต้นแบบ;โรงเรือนต้นทุนต่ำ;ผักอินทรีย์;พึ่งตนเองด้านอาหาร |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยทักษิณ |
ปีที่เผยแพร่ |
2566 |
คำอธิบาย |
PAR) กรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ร่วมกับองค์ความรู้ของหน่วยงานสำนักงานเกษตร มาจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือนต้นทุนต่ำ ที่ประกอบด้วยองค์ความรู้ 4 เรื่อง คือ 1) การสร้างโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ 2) การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ICOFIS 3) การปลูกผักอินทรีย์แบบประณีต และ 4) ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพึ่งตนเองด้านอาหาร ลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากภายนอก และสามารถผลิตผักปลอดภัยได้ตลอดทั้งปี กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมจาก 15 หมู่บ้านของเขตเทศบาลตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน ม.8 บ้านหน้าป่า ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม และ ม.4 บ้านพลู ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน ทำให้ 1) กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เข้าใจ และมีทักษะในการผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือนต้นทุนต่ำจำนวน 85 คน และขยายผลพัฒนา 2) ครัวเรือนต้นแบบผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือนต้นทุนต่ำ 24 ราย และพัฒนา 3) ชุมชนต้นแบบผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือนต้นทุนต่ำ 1 ชุมชน ส่งผลให้ 1) เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในครัวเรือน สามารถพึ่งตนเอง และลดรายจ่ายจากการซื้อผักเดือนละ 2,000-2,500 บาท 2) ครัวเรือนต้นแบบผลิตพืชได้ไม่น้อยกว่า 5 ชนิดต่อปี และมีรายได้ 2,000 – 3,000 บาท ต่อเดือน 3) ชุมชนต้นแบบพัฒนาองค์ความรู้ เป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และผู้ที่สนใจ และครัวเรือนต้นแบบสามารถเป็นครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 5 ครัวเรือน เพื่อขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ 4) เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของมหาวิทยาลัย เทศบาลตำบลโคกม่วง สำนักงานเกษตรอำเภอเขาชัยสน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านทุ่งยาวพัฒนา และเกษตรกรในการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน และมุ่งสู่ความมั่นคง พึ่งตนเองได้ของชุมชน |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านสังคม/ชุมชน |
สาขาการวิจัย |
|