ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผงเห็ดป่าและสมุนไพรไทยด้วยวิธีการทำแห้งและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ในจังหวัดนครพนม |
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ |
Cooperative technology of wide edible mushroom and Thai herb powder with drying method and functional food development for commercial market in Nakhon Phanom |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หทัยกาญจน์ กกแก้ว |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ |
Miss Hathaigan Kokkaew |
เจ้าของผลงานร่วม |
นางสาวประภัสสร มะลาด ,
นางภัทราวดี วงษ์วาศ |
คำสำคัญ |
วิสาหกิจชุมชน;เห็ดป่าชนิดกินได้;สมุนไพรไทย;การทำแห้ง;อาหารพื้นถิ่น |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยนครพนม |
ปีที่เผยแพร่ |
2566 |
คำอธิบาย |
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผงเห็ดป่าและสมุนไพรไทยด้วยวิธีการทำแห้งและการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ในจังหวัดนครพนมนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อถ่ายทอดองค์
ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผงเห็ดป่าและสมุนไพรไทยด้วยวิธีการทำแห้ง 2) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และ
เทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพสู่เชิงพาณิชย์ 3) เพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชน
พึ่งตนเองในการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และ 4) เพื่อ
สร้างเครือข่ายการทางานในการขยายผลองค์ความรู้และเชื่อมโยงการระหว่างชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ
นาไปสู่การพัฒนาและเติบโตของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ 5 ชุมชน ได้แก่ โครงการพัฒนาป่า
ไม้ตามแนวพระราชดำริป่าห้วยศรีคุณ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดาริหนองปลาค้อเฒ่า โครงการ
ฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริบ้านทางหลวง โครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริหนองวังกะเบา
และวิสาหกิจชุมชนผลิตเห็ดบ้านธาตุน้อย มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 62 คน การดำเนินโครงการประกอบด้วย
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำแห้งเห็ดป่าและสมุนไพรด้วยการทำแห้ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากเห็ดป่า
และสมุนไพรเพื่อสุขภาพ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าการจัดทำตลาดออนไลน์ และการจัดทำระบบ
มาตรฐานการผลิต GMP และการขอเลขสารบบอาหาร (อย.) ผลการดาเนินงานตลอดโครงการสามารถบรรลุ
ตามเป้าหมายของผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการมี ดังนั้น โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้นับว่ามี
ความสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพและความความเข้มแข็งของชุมชนโดยการสร้างอาชีพเพื่อยกระดับรายได้
จากการผลิตเห็ดผงและสมุนไพรไทยด้วยวิธีการการทำแห้งและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพในเชิงพาณิชย์
นาไปสู่การพัฒนาและเติบโตของวิสาหกิจชุมชนและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรของรัฐบาล รวมทั้งเป็นการจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน
สังคม ตามแนวพระราชดำริอย่างแท้จริง |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านสังคม/ชุมชน |
สาขาการวิจัย |
|