- นุสรา จิตตเกษม
- 440 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในชั้นเรียนร่วม |
---|---|
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ | Developing a Program For Promoting Health and Safety for Students with Intellectual Disabilities in Inclusive Classrooms |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | โสรัจจะ มีทรัพย์มั่น |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ | Sorajja Meesupmun |
เจ้าของผลงานร่วม | ผศ.ดร.ชนิดา มิตรานันท์ , ผศ.ดร.ศิริพันธ์ ศรีวันยงค์ |
คำสำคัญ | การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย , เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา , ชั้นเรียนร่วม |
หน่วยงาน | ป.เอก การศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มศว /ที่ทำงานสำนักการศึกษา กทม. |
ปีที่เผยแพร่ | 2565 |
คำอธิบาย | การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในชั้นเรียนร่วม โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวทางในการสร้างเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในชั้นเรียนร่วม แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ประชากร ได้แก่ ครูการศึกษาพิเศษและครูผู้สอนวิชาสุขศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 134 โรงเรียน จำนวน 253 คนและขั้นตอนที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ระดับความคิดเห็น ค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI Modified) และวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาที่ปฏิบัติได้น้อยที่สุด คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน ความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่สุดคือ ด้านหลักสูตร และควรมีแนวทางฯ ที่เป็นรูปธรรม เน้นการทำงานร่วมกัน การสื่อสารเชิงบวก การเปิดใจ ควรคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละบุคคล และใช้ปฏิบัติการการร่วมมือมาเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนนักเรียนจนเป็นสุขนิสัยที่ดี ระยะที่ 2 สร้างโปรแกรมฯ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมฯ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมฯ ประกอบด้วย 1) จุดมุ่งหมาย 2) ลักษณะของโปรแกรม 3) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโปรแกรม 4) วิธีการจัดกิจกรรมแบบ Co-Teaching รูปแบบสถานี (Station Teaching) 5) แผน IEP 6) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เกิดจากการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่นการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19, ฝุ่น PM 2.5, การข้ามทางม้าลาย, การสวมหมวกนิรภัย เป็นต้น 7) การประเมินผล 8) แบบประเมินความสามารถฯ และ9) คู่มือการใช้โปรแกรมฯ ระยะที่ 3 ทดลองใช้และปรับปรุงโปรแกรมฯ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูการศึกษาพิเศษ ครูผู้สอนวิชาสุขศึกษาจำนวน 2 คน และเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมสร้างเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในชั้นเรียนร่วม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ค่าประสิทธิภาพของโปรแกรมฯ (E1/E2) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมสร้างเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในชั้นเรียนร่วมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีประสิทธิผล ค่า E.I.เท่ากับ 0.69 โดยครูมีความคิดเห็นว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีความคงทนในการเรียนรู้ดีขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1099 |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านวิชาการ |
สาขาการวิจัย |
|
การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในชั้นเรียนร่วม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.