ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การประยุกต์ใช้แบบจำลอง CMAQ ในการพัฒนามาตรการที่เหมาะสม ในการแก้ปัญหาหมอกควันจังหวัดพะเยา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นายภัทรภูมิ เพียงตา
คำสำคัญ แบบจำลองคุณภาพอากาศ;ฝุ่นละออง (PM2.5);หมอกควัน;พะเยา;การควบคุมการเผาชีวมวล
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยพะเยา
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย PM2.5 เป็นมลพิษอากาศสำคัญของปัญหาหมอกควันมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพประชาชน งานวิจัยนี้ศึกษาความสามารถในการรองรับของ PM2.5 ในบรรยากาศจากการเผาชีวมวล งานวิจัยนี้ศึกษาในช่วงวิกฤตหมอกควัน วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2562 โดยใช้ระบบแบบจำลอง WRF-CMAQ จำลองการแพร่กระจายฝุ่นละออง PM2.5 ที่ความละเอียดกริด 3×3 ตารางกิโลเมตร ศึกษากรณี ไม่มีการเผา, เผาป่า 20 ไร่, เผาป่า 40 ไร่, เผาป่า 60 ไร่, เผาป่า 80 ไร่ และเผาป่า 100 ไร่ ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลอง CMAQ สามารถจำลองได้ความเข้มข้นสูงสุดรายชั่วโมง ณ จุดปล่อยมลพิษที่มีการเผามีค่า PM2.5 เพิ่มขึ้นเท่ากับ 217, 454, 691, 930 และ 1,169 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ และความเข้มข้นเฉลี่ยรายวันมีค่าเพิ่มขึ้น ณ จุดที่เผาป่าเท่ากับ 14, 30, 47, 63 และ 80 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ผลการศึกษาทำให้ทราบการเผาชีวมวลในที่โล่งในพื้นที่ป่า 63 ไร่ จะทำให้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM2.5 มีค่าเพิ่มขึ้น 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง